เชียงราย
เชียงราย เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน
เชียงราย จังหวัดเหนือสุดแดนสยาม เขตบรรจบกันของ ไทย ลาวและพม่า ที่มาของชื่อ “ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ” เมืองเล็กๆ ที่ห้อมล้อมไปด้วยธรรมชาติ อากาศอันบริสุทธิ์ อบอวลไปด้วยเสน่ห์แห่งธรรมชาติ โอบล้อมด้วยเทือกเขาสูง อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฤดูหนาว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสความสวยงามของธรรมชาติกันแบบเอกซ์คลูซีฟ ชมสายหมอกฟิน ๆ ในตอนเช้าพร้อมกับสูดกลิ่นธรรมชาติให้ชุ่มปอด
เชียงรายอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และดอกไม้เหมืองหนาวที่งดงาม มีไร่ชากาแฟอันเป็นจุดกำเนิดของการค้าขายใบชาและเมล็ดกาแฟในประเทศอาหารพื้นเมืองแสนเลิศรส นอกจากนี้เชียงรายยังถือว่าเป็นเมืองแห่งพุทธศิลป์ที่รวมผลงานชิ้นเอกของเหล่าศิลปินแห่งชาติที่หาชมได้ยาก ทำให้เมืองเชียงรายยังคงกลิ่นอายอันอบอุ่นที่อบอวลไปด้วยแรงบันดาลใจให้ทั้งเจ้าบ้านและผู้มาเยือน
ประเพณีและเทศกาลสำคัญ
ประเพณีป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์
วันที่จัดงาน: เดือนเมษายน ช่วงเทศกาลสงกรานต์
สถานที่จัดงาน: เขตเทศบาล อ.เมืองเชียงราย
กำหนดให้มีตั้งแต่วันที่ 13-16 เมษายน โดยการเนรมิตถนนเล่นน้ำกลางเมืองเชียงราย ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ขนทรายเข้าวัด สรงน้ำพ่อขุนเม็งรายมหาราช รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุแต่ละชุมชน ประกวดเทพีสงกรานต์ แข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ขบวนแห่ ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง บนถนนเล่นน้ำคือ ถนนธนาลัย จะใช้เป็นถนนเพื่อการเล่นน้ำตลอดทั้งสาย โดยเทศบาลได้ออกแบบอุโมงค์ที่มีสายน้ำใสสะอาดพุ่งออกมาจากทั้งสองฟากถนน
รวมทั้งติดตั้งระบบน้ำพุ เพื่อสร้างสีสันบรรยากาศของความชุ่มฉ่ำของสายน้ำตลอดเทศกาล พร้อมกันนี้ได้จัดให้มีพิธีรดน้ำดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ และผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพนับถือและความเป็นสิริมงคลตามประเพณีที่ชาวล้านนาได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา ตลอดทั้งเป็นการ่วมสืบสานวัฒนธรรมอันดีให้กับชนรุ่นหลัง
ประเพณียี่เป็งลอยกระทง
วันที่จัดงาน: เดือนพฤศจิกายน ช่วงเทศกาลลอยกระทง
สถานที่จัดงาน: ณ สนามฝึกนักศึกษาวิชาทหาร (สนาม รด.) เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง
จัดขึ้นทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยจะมีการจัดงาน 2 วัน ในวันแรกจะมีกิจกรรมลอยกระทงเล็ก การประกวดหนูน้อยนพมาศ และวันต่อมาจะมีขบวนแห่กระทงที่ยิ่งใหญ่จากสวนตุง และโคมฯ ถนนธนาลัย สู่สถานที่จัดงาน และ มีการประกวดนางนพมาศ ประกวดโคม ประกวดกระทง พร้อมการแสดงบนเวทีอย่างตระการตา
โครงการจัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง
วันที่จัดงาน: ช่วงปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายน
สถานที่จัดงาน: สนามบินของฝูงบิน 416 (สนามบินเก่า) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เป็นการจัดงานเพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้แก่ ไทย ลาว จีน พม่า เวียดนาม และกัมพูชา เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ประเพณีระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายและประเทศไทย รวมทั้งเป็นการสานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านให้แนบแน่น เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นการผูกมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน อันจะนำไปสู่การขยายฐานความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ส่งผลดีในปัจจุบันและอนาคตทางด้านการค้า การลงทุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จึงทำให้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่และส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ จัดขึ้นราวปลายเดือนตุลาคมหรือต้นพฤศจิกายนของทุกปี
ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเจียงฮาย
วันที่จัดงาน: 31 ธันวาคม
สถานที่จัดงาน: เขตเทศบาล อ.เมืองเชียงราย
เป็นขบวนแห่พระคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญๆ ของวัดต่างๆ ประดิษฐานบนบุษบกแห่ให้ประชาชนสักการะบูชาโปรยข้าวตอกดอกไม้ในบ่ายวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี เพื่อเป็นศิริมงคลสำหรับเมืองเชียงราย ส่งท้ายปีเก่าที่กำลังจะผ่านไปและรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง แล้วตักบาตรในวันที่ 1 มกราคมตอนเช้ารับวันปีใหม่ ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการะบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่างๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการะบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ จึงถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก
งานตานหาพญามังราย
วันที่จัดงาน: ปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
สถานที่จัดงาน: วัดดอยงำเมือง
เม็งรายมหาราชกำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพ่อขุนเม็งรายมหาราช ที่ทรงสร้างเมืองเชียงราย เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.1805 และเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวล้านนา ตลอดจนนำเสนอผลงานความก้าวหน้าของส่วนราชการต่างๆ เพื่อจัดหารายได้สำหรับใช้ในกิจการโดยเฉพาะสนับสนุนงานสาธารณสุขของจังหวัด
กิจกรรมภายในงานมีดังนี้ งานจัดนิทรรศการของส่วนราชการ อำเภอ/กิ่งอำเภอ สถาบันการศึกษาและมูลนิธิต่างๆ การประกวดธิดาดอย และการประกวดร้องเพลง การออกร้านของเหล่ากาชาดจังหวัด การจัดงานของภาคเอกชน
งานประเพณีแห่โคมไฟ ไหดอก
วันที่จัดงาน: วันมาฆบูชา
สถานที่จัดงาน: เขตเทศบาล อ.เมืองเชียงราย
จัดขึ้นเนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและเป็นวันที่เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นหลายประการ คือ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อนซึ่งพระสงฆ์ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า และในวันมาฆบูชานี้พระพุทธเจ้าได้แสดงพระโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ เนื้อหาโดยสรุปคือ ให้ละเว้นความชั่วทุกชนิด ทำความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส และเมื่อวันมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบครบรอบทุกปี เทศบาลนครเชียงรายร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงได้ จัดงานประเพณีแห่โคมไฟ ไหดอก ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเพื่อให้พุทธศาสนิกชนร่วมกันสร้างบุญกุศลสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป
งานประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ด ตักบาตรเที่ยงคืน
วันที่จัดงาน: วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ
สถานที่จัดงาน: เขตเทศบาล อ.เมืองเชียงราย
ในครั้งอดีตเมื่อใกล้เวลาประมาณเที่ยงคืน ในคืนวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ จะมีประชาชนจำนวนมากมาร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ สามเณรภายในเขตเทศบาลนครเชียงราย ตามถนนสายต่าง ๆ จำนวนหลายร้อยรูป โดยเรียกวันดังกล่าวว่า "วันเป็งปุ๊ด" และมีประวัติ ความเป็นมาสืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า พระมหาอุปคุตซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งที่มีมหาอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลโชคลาภวาสนาได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติที่ใต้สะดือทะเลแล้วแปลงกายเป็นสามเณรน้อยออกมาโปรดสัตว์โลกเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระมหาอุปคุตแล้วบุคคลนั้นถือว่าเป็นผู้มีบุญ จะมีโชคลาภวาสนาร่ำรวยเป็นเศรษฐีและบังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืนวันเป็งปุ๊ด ถือเป็นประเพณีล้านนาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เพราะว่าแต่ละปีอาจมีวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ เพียงแค่ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้งเท่านั้น หลายคนจึงเฝ้ารอที่จะมาทำบุญตักบาตรในวันดังกล่าว เทศบาลนครเชียงรายจึงได้จัดงานประเพณีตักบาตรวันเป็งปุ๊ดเพื่อให้คงอยู่คู่วัฒนธรรมล้านนาของชาวเชียงรายสืบไป
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย
-
ภูชี้ฟ้า เป็นยอดเขาสูงที่สุดในเทือกเขาดอยผาหม่น สูงจากระดับน้ำทะเล 1,628 เมตร ด้านที่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีหน้าผาสูงชัน เป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ในฤดูหนาวจะมีทิวทัศน์...
-
ดอยผาตั้ง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป็นเทือกเขาแนวพรมแดนไทย-ลาว สูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ดอยผาตั้งถือเป็นเป็นจุดชมวิวไทย-ลาว เสน่ห์ของดอยผาตั้งไม่เพียงมีธร...
-
ภูชี้ดาวตั้งอยู่ที่ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ระหว่างภูชี้ฟ้าและดอยผาตั้ง ใกล้กับภูชี้เดือน ภูชี้ดาวมีความสูงประมาณ 1,800 เมตร ซึ่งสูงกว่าทั้งภูชี้ฟ้าและดอยผาตั้ง สิ่งที...
-
วัดร่องขุ่น ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงรายผลงานพุทธศิลป์สุดล้ำค่าแห่งเมืองเชียงราย โดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชาวเชียงราย ผู้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) จากว...
-
บ้านดำหรือพิพิธภัณฑ์บ้านดำเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะบนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย สร้างขึ้นโดย อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติศิลปินแห่งชาติที่มีฝีมือทางด้านจ...
-
วัดห้วยปลากั้ง ตั้งอยู่ในตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดที่สวยงามตั้งอยู่บนเขา และมีเนินเขารายรอบวัดสามารถเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามสิ่งที่โดดเด่นของวัดนี้ คือ ” พบโชคธร...
-
วัดร่องเสือเต้น ตั้งอยู่ ในตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำกก ฝั่งด้านซ้ายทางทิศตะวันออกของเทศบาลนครเมืองเชียงราย ในอดีตสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของวัดร...
-
วัดทรายขาว ตั้งอยู่ในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นวัดที่มีความสวยงามอลังการด้วยสถาปัตยกรรมที่วิจิตรงดงามแปลกตา สีสดใส ทั้งพระอุโบสถ เจดีย์ วิหาร รูปปั้นเทพต่างๆ ผสมผสานศิลปะแบบหลาก...
-
ไร่บุญรอด หรือ สิงห์ ปาร์ค เชียงราย เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบผสมผสาน มีไร่ชา แปลงสตรอว์เบอร์รีแปลงพืชผักผลไม้ต่างๆ และแปลงข้าวบาร์เลย์ที่ปลูกไว้เพื่อความสวยงามและรักษาสายพันธ...
-
ดอยตุง เป็นที่ตั้งของพระตำหนักดอยตุงหรือ "พระตำหนักสมเด็จย่า" สวนแม่ฟ้าหลวง และพระธาตุดอยตุง พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนินการก่อสร้างตามพระราชดำริของสมเด็จย่า ที่จะสร้างบ้านที่ดอยตุงพ...
-
ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย การเดินทางไปดอยแม่สลองในปัจจุบันค่อนข้างสะดวก ถนนหนทางต่าง ๆ ไม่มีปัญหาต่อการเดินทางแต่อย่...
-
ไร่ชาฉุยฟง เป็นแหล่งปลูกชาชั้นดี บนเนื้อที่กว่า1,000 ไร่ ตั้งอยู่ในภูมิประเทศแถบเทือกเขาสูง ซึ่งอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,200 เมตร ด้วยความความสวยงามของไร่ชาที่กว้างให...
-
หากพูดถึงดอยช้างก็ต้องมีดอยวาวี และดอยกาดผี เพราะทั้ง 3 ดอย แห่งอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นมิตรสหายของการท่องเที่ยวที่ต้องเอื้ออาศัยกัน นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวดอยช้างจะแวะจิ...
-
จุดชมวิวดอยสะโง้ตั้งอยู่ในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของดินแดนสามประเทศ ทั้งดินแดนไทย ลาว และพม่า พร้อมสายน้ำโขงอย่างชัดเจน และมองเห็นถึงช...
-
สามเหลี่ยมทองคำอยู่ห่างจากอำเภอแม่สาย28 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1290 เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก นักท่องเที่ยวสามารถชมวิวได้สามประเทศ ได้แ...
-
วัดพระสิงห์เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงราย ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และมีรอยพระพุทธบาทจำลองบนแผ่นศิลา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช ชื่อวัดพระสิงห์นั้นได้มาจา...
-
วัดพระแก้วเป็นเป็นวัดที่มีการค้นพบ พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทยที่ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้วกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตามประวัติกา...
-
วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ เป็นวัดไทใหญ่สมัยก่อนมีชุมชนไทยใหญ่อยู่เรียกว่า วัดเงี้ยว หรือ วัดช้างมูบ (ช้างหมอบ) วัตถุโบราณของวัดมีบ่อน้ำโบราณ เรียกว่า บ่อน้ำช้างมูบ ที่นี่...
-
ตลาดแม่สาย เป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คสำคัญที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาดเมื่อมาเที่ยวจังหวัดเชียงราย โดยเป็นตลาดการค้าชายแดนที่มีชื่อเสียงมานานหลายสิบปี เนื่องจากชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยจะเข้าม...